“ดอกมะลิ” ยังเป็นดอกไม้ประจำวันแม่ แล้ววันสงกรานต์ เทศกาลสำคัญของคนไทยจะไม่มีได้อย่างไร
“ดอกราชพฤกษ์” (ดอกคูณ) หรือที่ภาษาถิ่นล้านนา เรียกว่า “ดอกลมแล้ง” ดอกไม้ประจำชาติไทย ที่มักจะออกดอกสีเหลืองสดใสบานสะพรั่งในช่วงต้นเดือนเมษายนของทุกปี ก่อนจะร่วงโรยไปหลังสงกรานต์หรือช่วงปลายเดือนเมษายน
ด้วยช่วงเวลาที่ออกดอกและร่วงโรยไปพร้อมๆ กัน อีกทั้งในอดีตชาวมอญยังนำมาใช้ในการประดับบวงสรวงรับเทวดา ที่จะเสด็จมายังโลกมนุษย์ก่อนวันสงกรานต์ 1 วัน
ดอกราชพฤกษ์นี้จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลสงกรานต์นั่นเอง
รู้จัก “ดอกสงกรานต์”
“ดอกราชพฤกษ์” เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถานไปจนถึงอินเดีย ศรีลังกา พม่านอกจากเป็นดอกไม้และต้นไม้ประจำชาติไทย ยังเป็นดอกไม้ประจำรัฐเกรละของประเทศอินเดียอีกด้วย
ความเชื่อเกี่ยวกับ "ดอกราชพฤกษ์"
ต้นราชพฤกษ์ เชื่อว่าเป็นต้นไม้มงคล เพราะมีชื่อเป็นมงคลนาม โดยเชื่อว่าบ้านใดที่ปลูกเอาไว้ในบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี และควรปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเรือนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ
นอกจากจะเป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูงแล้ว ยังเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิทางไสยศาสตร์อีก คนไทยในอดีตมักนำใบไปทำน้ำพระพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์
นอกจากดอกราชพฤกษ์แล้วช่วงเทศกาลสงกรานต์ หลายคนเลือกใช้ดอกไม้มงคลนำมาร้อยเป็นพวงมาลัยเพื่อให้แก่ผู้ใหญ่ที่เคารพคำพูดจาก เว็บตรง PG SLOT
ดอกมะลิ
เป็นดอกไม้ดอกเล็กๆสีขาวบริสุทธิ์ที่มีกลิ่นหอมชวนดมเปรียบเสมือนความรักอันบริสุทธิ์ความกตัญญูและปรารถนาดี
ดอกดาวเรือง
เป็นดอกไม้ที่มีเหลืองเชื่อว่าช่วยหนุนนำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า นอกจากนี้ยังเป็นดอกไม้ที่มีความแข็งแกร่งทนทานมีความหมายอันเป็นมงคล ซึ่งหมายถึงความมั่นคง
ดอกกุหลาบ
ราชินีแห่งดอกไม้มีหลายความหมาย เป็นตัวแทนการบอกรักและยังสื่อถึงความรักที่อบอุ่นและโรแมนติก
พวงมาลัยถือเป็นสัญลักษณ์ของความหมายที่ดี เหมาะจะใช้ในเทศกาลสงกรานต์ ชาวไทยในสมัยโบราณจึงทำสืบต่อกันมา เพื่อใช้เป็นสื่อกลางแทนใจ แทนคำขอโทษ และคำอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่คุณเคารพรัก
ในเทศกาลสงกรานต์ที่คนไทยให้ความสำคัญเป็นวันขึ้นปีใหม่ จึงมีการตั้งให้ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจำเทศกาล และมีธรรมเนียมปฏิบัติในการใช้พวงมาลัยเป็นสื่อกลางแทนใจ นำไปไหว้รดน้ำขอพร เพราะถือเป็นดอกไม้มงคล
ขอบคุณข้อมูลจาก : เฟซบุ๊ก Thailand Festival และ เว็บท่ากรมศิลปากร
ขอบคุณภาพจาก : อุทยานหลวงราชพฤกษ์