ในการตอบคำถามรอบ 3 คนสุดท้าย ของการประกวดมิสยูนิเวิร์ส ครั้งที่ 72 หรือ Miss Universe 2023 ผู้เข้าประกวดทุกคนจะได้คำถามเหมือนกันคือ “หากคุณสามารถใช้ชีวิตเป็นผู้หญิงคนอื่นได้ 1 ปี คุณจะเลือกใครและเพราะเหตุใดคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง?”
ซึ่งหนึ่งในสาวงาม 3 คนสุดท้ายอย่าง “แอนโทเนีย โพซิ้ว” มิสยูนิเวิร์สไทยแลยด์ ความภาคภูมิใจของชาวไทย ก็ได้ให้คำตอบที่น่าสนใจเอาไว้ว่า บุคคลที่เธออยากเป็นคือ “มาลาลา ยูซาฟไซ” (Malala Yousafzai)
รวมคำตอบมงลง “มิสนิการากัว” คว้ามงกุฎ Miss Universe 2023
“Sheynnis Palacios” จาก “นิการากัว” คว้า Miss Universe 2023
“แอนโทเนีย” คว้ารองอันดับ 1 Miss Universe 2023
โดยแอนโทเนียตอบว่า “ฉันจะเลือก มาลาลา ยูซาฟไซ เพราะฉันรู้ว่าเธอต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อไปถึงจุดที่เธออยู่ทุกวันนี้ เธอต้องต่อสู้เพื่อการศึกษาของสตรี และต่อสู้เพื่อให้ผู้หญิงทุกคนสามารถยืนหยัดเข้มแข็งและเป็นผู้เปลี่ยนแปลงและเป็นผู้นำด้วยการเป็นตัวอย่าง หากเลือกเป็นใครได้ ก็ขอเลือกเป็นเธอ”
นิวมีเดีย พีพีทีวี จึงขอชวนทุกคนทำความรู้จักกับ มาลาลา ยูซาฟไซ นักเคลื่อนไหวชาวปากีสถาน ผู้พยายามทำให้เด็กและสตรีปากีสถานได้มีสิทธิและโอกาสในการศึกษาให้ได้ แม้ต้องเจอคมกระสุนของ “กลุ่มตาลีบัน” ก็ตาม
มาลาลา ยูซาฟไซ เกิดที่เมืองมิงโกรา ประเทศปากีสถาน เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 1997 (ปัจจุบันอายุ 26 ปี) และแม้จะเป็นผู้หญิง แต่พ่อของเธอซึ่งเป็นครู ก็ให้ความรักและโอกาสแก่เธอเทียบเท่ากับลูกชาย ซึ่งนั่นรวมถึงเรื่องของการศึกษาด้วย
พ่อของมาลาลายังเป็นบริหารโรงเรียนสตรีในหมู่บ้านด้วย เรียกได้ว่า ช่วงวัยเด็กของเธอ เป็นช่วงที่การศึกษาสำหรับสตรีปากีสถาน อย่างน้อยก็ในหมู่บ้านที่เธออยู่ มีความรุ่งเรืองอย่างมาก
แต่ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปในปี 2008 ขณะมาลาลาอายุได้ 11 ปี เมื่อกลุ่มอิสลามติดอาวุธนิกายซุนนีสุดโต่งอย่าง ตาลีบัน บุกเข้าควบคุมเมืองของเธอ
ก่อนหน้านี้ตาลีบันเคยปกครองอัฟกานิสถานตั้งแต่ปี 1996 แต่ถูกโจมตีอย่างหนักจากสหรัฐฯ จากเหตุการณ์ 9/11 เมื่อปี 2001 จนแตกสานซ่านเซ็น และกองกำลังต่าง ๆ ของตาลีบันก็กระจายกันไปยึดหลายพื้นที่เอาไว้
เป็นที่ทราบกันดีว่า กลุ่มตาลีบันมักบังคับใช้กฎหมายอิสลามชารีอะห์ในพื้นที่ที่ตัวเองปกครอง ซึ่งเป็นกฎหมายในลักษณะ “เลือดแลกเลือด เนื้อแลกเนื้อ” ที่เข้มงวดและเคร่งครัด โดยมีการประหารผู้ที่ประพฤติผิดประเวณี ตัดแขนขาผู้ที่ลักขโมยทรัพย์
รวมถึงมีการบังคับให้ผู้ชายต้องไว้เครา ผู้หญิงต้องสวมชุดคลุมปกปิดทั้งร่างกาย สั่งห้ามให้มีการเสพสื่อโทรทัศน์ ดนตรี และภาพยนตร์ และ “ไม่อนุญาตให้เด็กผู้หญิงอายุ 10 ปีขึ้นไปไปโรงเรียน”
มาลาลาบอกว่า “กลุ่มตาลีบันสั่งห้ามหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น ห้ามเป็นเจ้าของโทรทัศน์ ห้ามเล่นดนตรี และบังคับใช้การลงโทษอย่างรุนแรงสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของพวกเขา และพวกเขาบอกว่า เด็กผู้หญิงไม่สามารถไปโรงเรียนได้อีกต่อไป … ฉันบอกลาเพื่อนร่วมชั้น โดยไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ฉันถึงจะได้เจอพวกเขาอีกครั้ง”
เหตุการณ์ครั้งนั้นมีรายงานว่า กลุ่มตาลีบันถึงขั้นจุดไฟเผาโรงเรียนสตรีด้วย
มาลาลาเขียนเหตุการณ์ทุกอย่างไว้ในบันทึกประจำวัน ซึ่งได้รับการเผยแพร่ในปี 2009 โดยบีบีซี มีเนื้อหาต่อต้านระบอบก่อการร้ายของกลุ่มตาลีบัน มีการสร้างภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับเธอ ทำให้มาลาลาโด่งดังไปทั่วโลก
ต่อมาในปี 2012 ขณะอายุได้ 15 ปี เธอออกมาพูดต่อสาธารณะเพื่อเรียกร้องสิทธิสตรี โดยเฉพาะสิทธิในการเรียนหนังสือ และนั่นทำให้เธอตกเป็นเป้าหมาย
ในเดือนตุลาคม 2012 ระหว่างทางกลับบ้านจากโรงเรียน มือปืนสวมหน้ากากขึ้นรถโรงเรียนของที่เธอนั่งอยู่แล้วถามว่า “มาลาลาคือใคร” จากนั้นก็ยิงเข้าบริเวณศีรษะด้านซ้าย
เธอตื่นขึ้นมาในอีก 10 วันต่อมาที่โรงพยาบาลในเมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ แพทย์และพยาบาลบอกเธอเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผู้คนทั่วโลกต่างสวดภาวนาให้เธอฟื้น
เหตุการณ์ที่เธอถูกยิงได้รับเสียงประณามจากทั่วโลก ในปากีสถาน ผู้คนมากกว่า 2 ล้านคนลงนามในคำร้องด้านการศึกษา และรัฐสภาให้สัตยาบันร่างพระราชบัญญัติสิทธิในการศึกษาฟรีและภาคบังคับฉบับแรกของปากีสถานหลังจากนั้น มาลาลาต้องพักฟื้นเป็นเวลานับปี และได้กลับไปอยู่กับครอบครัว ซึ่งเธอและครอบครัวต้องลี้ภัยมาอยู่อังกฤษ เพราะกลุ่มตาลีบันออกหมายจับเธอ
“ตอนนั้นเองที่ฉันรู้ว่าฉันมีทางเลือก ฉันจะเลือกชีวิตที่เงียบสงบ หรือใช้ชีวิตใหม่นี้ให้คุ้มค่าที่สุด ดังนั้น ฉันจึงตั้งใจที่จะต่อสู้ต่อไปจนกว่าเด็กผู้หญิงทุกคนจะได้ไปโรงเรียน” มาลาลาบอก
เธอได้ก่อตั้งกองทุนมาลาลา (Malala Fund) ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่อุทิศตนเพื่อให้เด็กผู้หญิงทุกคนมีโอกาสบรรลุอนาคตที่พวกเธอได้เลือกเอง
ในปี 2013 นิตยสาร TIME เสนอให้ Malala เป็นหนึ่งใน "100 บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก" ในวันเกิดปีที่ 16 ของเธอ เธอได้พูดในสหประชาชาติ ในสุนทรพจน์ของเธอ มาลาลาเรียกร้องสิทธิที่เท่าเทียมกันในการศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิงทั่วโลก และกลายเป็นสัญลักษณ์ของการเรียกร้องสิทธิสตรีในด้านการศึกษา
มาลาลาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในเดือนธันวาคม 2014 และกลายเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลที่อายุน้อยที่สุดที่เคยได้รับรางวัลนี้
นอกจากการทำงานเพื่อเรียกร้องสิทธิในการเรียนของผู้หญิงแล้ว มาลาลายังเข้ารับการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ซึ่งระหว่างนั้นเธอยังคงเดินทางไปหลายประเทศเพื่อพบปะและให้กำลังใจเด็กผู้หญิงที่ต่อสู้กับความยากจน สงคราม การถูกบังคับแต่งงาน และการเลือกปฏิบัติทางเพศในโรงเรียน
มาลาลาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดเมื่อปี 2020 โดยปัจจุบัน เธอยังคงเดินหน้าอสู้เพื่อการศึกษาและความเท่าเทียม เพื่อสามารถสร้างโลกที่เด็กผู้หญิงทุกคนสามารถเรียนหนังสือและเป็นผู้นำได้
เรียบเรียงจาก Malala Fund / Nobel Prize / United Nations
ภาพจาก
Miss Universe
Michael TRAN / AFP