ค่าเงินบาทเริ่มแข็งค่าขึ้นหลังจากแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 34.80 บาท/ดอลลาร์ในช่วงปลายสัปดาห์ โดยได้ปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับสกุลหลัก หลังกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 187,000 ตำแหน่งในเดือน ก.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 200,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 3.5% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.6% ซึ่งจะเป็นปัจจัยชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ค่าเงินบาทวันจันทร์แข็งค่าเล้กน้อย ท่ามกลางเงินไหลออกจากการเมืองยังไม่แน่นอน
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทจะยังคงผันผวนและถูกกดดันจากสัญญาณขายสุทธิพันธบัตรและหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองของไทยที่ยังมีความไม่แน่นอน แม้ว่าเงินดอลลาร์ฯ จะเริ่มปรับลดลงตามทิศทาง Bond yields พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐก็ตาม โดย fund flow เมื่อวันศุกร์นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 7,016 ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 2,576 ล้านบาท
ราคาทองวันนี้ ปิดตลาดบวก 50 บาท จากเงินบาทอ่อนค่าทำทองแพง
"การเมืองป่วนทอง" ความต้องการไตรมาส 2 ลดลง 10% -ขายคืนมากกว่าซื้อใหม่
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) แนะนำผู้นำเข้าควรซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
ด้านนายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่าในสัปดาห์นี้ ควรจับตารายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ และไทย รวมถึง เตรียมพร้อมรับมือ ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองในประเทศ
นักวิเคราะห์ต่างคาดว่า อัตราเงินเฟ้อ(CPI) ของสหรัฐจะอยู่ที่ระดับ 3.3% (คิดเป็นการเพิ่มขึ้น +0.2%m/m) ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ตามแรงหนุนของราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ยังคงประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อ CPI มีแนวโน้มชะลอลงและอาจทรงตัวใกล้ระดับ 3.0%-3.5% ในช่วงที่เหลือของปีนี้
ตลาดคาดว่าเฟดจะยังไม่สามารถเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องได้ในการประชุมเดือนกันยายน (จาก CME FedWatch Tool ล่าสุด ผู้เล่นในตลาดยังให้โอกาสการขึ้นดอกเบี้ยต่อในปีนี้ ไม่ถึง 30%) นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากบรรยากาศในตลาดการเงินก็อาจผันผวนไปตามการตอบรับของผู้เล่นในตลาดต่อรายงานผลประกอบการ
แม้ว่าเงินดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่าลงบ้าง แต่ความวุ่นวายของการเมืองไทยก็อาจกดดันให้เงินบาทยังไม่สามารถกลับมาแข็งค่าได้ชัดเจน ทำให้ประเมินว่า เงินบาทอาจผันผวน sideway ในกรอบกว้าง โดยมีแนวต้านตั้งแต่โซน 34.75-35.00 บาทต่อดอลลาร์ ในขณะที่แนวรับแรกจะอยู่ในช่วง 34.50 บาทต่อดอลลาร์ อย่างไรก็ดี หากการจัดตั้งรัฐบาลมีความชัดเจนมากขึ้น เงินบาทก็สามารถกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องได้ตามแรงซื้อสินทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติ