0 0
Read Time:3 Minute, 23 Second

ผ่านมานานกว่า 2 สัปดาห์แล้ว หลังเกิดเหตุดินถล่ม จนทำให้ทางเข้าอุโมงค์ซิลยารา-บาร์กต ในรัฐอุตตราขัณฑ์ ประเทศอินเดีย พังทลายและถูกปิดกั้นด้วยกำแพงคอนกรีต เศษหิน เศษเหล็ก และโลหะ โดยมีคนงานชาวอินเดียติดอยู่ข้างใน 41 ชีวิต

โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เจ้าหน้าที่กู้ภัยสามารถเจาะทะลุซากที่พลังถล่มลงมาเข้าไปได้ลึกมาก เหลือเพียง 10-15 เมตรก็จะถึงตัวผู้ประสบภัย และประเมินว่าการช่วยเหลือจะใช้เวลาอีกไม่กี่ชั่วโมง

เผยภาพแรกคนงานอินเดียติดใต้ซากอุโมงค์ถล่มนานกว่า 1 สัปดาห์

อินเดียเร่งช่วยคนงานก่อสร้าง 40 ชีวิต ติดใต้ซากอุโมงค์ถล่ม

แต่พวกเขาก็ต้องเจอกับอุปสรรคในขั้นตอนสุดท้าย เมื่อเครื่องจักรขุดเจาะขนาดใหญ่ที่นำมาจากสหรัฐฯ เจาะไปชนเข้ากับสิ่งกีดขวางที่เป็นโลหะจนชำรุด ทำลายความหวังว่าการช่วยเหลือจะประสบความสำเร็จ

วันนี้ (27 พ.ย.) เจ้าหน้าที่กู้ภัยจึงตัดสินใจใช้มาตรการช่วยเหลือที่มีความเสี่ยงมากขึ้น นั่นคือเริ่มการเจาะอุโมงค์ในแนวดิ่งจากด้านบน เพื่อพยายามเปิดช่องทางในการดึงตัวผู้ประสบภัยออกมา

เจ้าหน้าที่กล่าวว่า กำลังซ่อมแซมสว่านของเครื่องขุดเจาะสหรัฐฯ และในระหว่างนี้ เจ้าหน้าที่กู้ภัย 200 คนได้เดินหน้าใช้เครื่องมือเจาะอื่น ๆ และพยายามนำเศษหินออกด้วยโดยใช้ระบบรอกคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

หน่วยงานจัดการภัยพิบัติแห่งชาติอินเดีย (NDMA) ระบุว่า การเจาะแนวดิ่งลงไปในโพรงอุโมงค์ที่คนงานติดอยู่ได้เริ่มขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม หน่วยงานยอมรับว่านี่ถือเป็นกระบวนการที่มีความเสี่ยงอันตรายมากกว่าการเจาะแนวนอน เนื่องจากอาจทำให้เกิดการสั่นสะเทือนในพื้นที่ที่มีความเปราะบางอยู่แล้ว และอาจทำให้เกิดรอยแตกร้าวมากขึ้น จนเพดานอุโมงค์อาจพังทลายมากขึ้น

ด้านนักธรณีวิทยาเตือนว่า การขุดเจาะแนวดิ่งถือเป็น “ความเสี่ยงมหาศาล” เนื่องจากการสั่นสะเทือนอย่างหนักที่เกิดจากการเจาะลงไปด้านล่างอาจเป็น “ภัยคุกคามครั้งใหญ่” ต่อภูเขา และยังทำให้ภูมิประเทศโดยรอบที่ประชาชนอื่นอาศัยอยู่ไม่มั่นคงอีกด้วย

เจ้าหน้าที่ NDMA ยืนยันว่า การขุดเจาะแนวดิ่งได้เริ่มขึ้นเมื่อบ่ายวานนี้ (26 พ.ย.) โดยบอกว่า “จำเป็นต้องขุดเจาะลงไป 86 เมตร เพื่อเข้าถึงคนงานที่ติดอยู่และทำทางหลบหนี ตอนนี้เจาะไปได้แล้ว 15 เมตร”

ทางการอินเดียกล่าวว่า การขุดเจาะแนวดิ่งอาจแล้วเสร็จภายในวันพฤหัสบดี (30 พ.ย.) แต่ยังเตือนด้วยว่า อาจใช้เวลาหลายวันหรือเป็นสัปดาห์ กว่าจะเข้าถึงตัวคนที่อยู่ข้างในหากมีอุปสรรคเกิดขึ้นเพิ่มเติม

อาร์โนลด์ ดิกซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการขุดอุโมงค์จากออสเตรเลียที่มาช่วยในปฏิบัติการครั้งนี้ กล่าวว่า “อาจต้องใช้เวลาสักระยะ อาจถึง 1 เดือน แต่ผมไม่สามารถระบุเวลาที่แน่นอนได้ ไม่แนะนำให้เร่งกระบวนการ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการกลับมาอย่างปลอดภัยของคนงานเหล่านี้ และผมมั่นใจว่าพวกเขาจะได้กลับบ้านภายในวันคริสต์มาส”

ที่ผ่านมา มีการติดต่อกับผู้ที่ติดอยู่ภายในอุโมงค์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผ่านท่อน้ำขนาดเล็ก ซึ่งเป็นช่องทางสำหรับอาหารและออกซิเจน รวมถึงผ่านท่อจ่ายขนาดใหญ่ 6 นิ้ว ซึ่งเสียบเข้าไปได้สำเร็จเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งหมายความว่าคนงานสามารถรับอาหารที่ปรุงสดใหม่จากข้างนอก ผลไม้และยารักษาโรคที่จำเป็น

อุโมงค์แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (5.2 หมื่นล้านบาท) โดยนายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเชื่อมต่อสถานที่แสวงบุญทางศาสนาหลัก 4 แห่งทั่วอุตตราขัณฑ์ผ่านเครือข่ายถนนและอุโมงค์ขนาดใหญ่

โครงการนี้เผชิญกับการประท้วงและการฟ้องร้องจากนักสิ่งแวดล้อมและคนในพื้นที่ ซึ่งเตือนว่าการตัดผ่านภูมิประเทศหิมาลัยที่เปราะบางนั้นสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และอาจนำไปสู่ดินถล่มและการทรุดตัวได้

เรียบเรียงจาก The Guardian

ภาพจาก Arun SANKAR / AFP

ลอยกระทง 2566 วันไหน มีตำนานประวัติความเป็นมาอย่างไร?

สุดสลด! “วิวาห์เลือด” เจ้าบ่าวรัวยิงเจ้าสาว-แม่ยาย-ญาติ ตาย 5 สาหัส 1

“อามาเทราสุ” อนุภาคปริศนาตกลงมายังโลกจากพื้นที่ว่างเปล่าในอวกาศ

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin